"โฟม" คืออะไร "โฟม" เป็นคำที่รู้จักกันทั่วไปซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีความหมายกว้างมาก หากพิจารณาตามคำแปลหมายถึง "ฟู" โฟมในที่นี้หมายถึงพลาสติกที่ฟูหรือขยายตัว พลาสติกมากมายหลายประเภท และในบรรดาพลาสติกหลายประเภท ที่มีในโลกนั้น หากผ่านกระบวนการที่ใช้สารขยายตัว (Blowing Agent) ก็จะทำให้พลาสติกนั้นกลายเป็นโฟมได้ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า Foam Plastic ตัวอย่างของโฟมพลาสติกที่รู้จักกันทั่วไป เช่น ฟองน้ำ กล่องโฟมใส่อาหาร โฟมแผ่น โฟมฉีดพ่นเพื่อเป็นฉนวน เป็นต้น ซึ่งโฟมพลาสติกเหล่านี้ล้วนแต่ผลิตจากพลาสติกแตกต่างประเภทกันไป
ในที่นี้จะหมายถึงโฟมที่ผลิตจากพลาสติกประเภท Polystyrene / PS เท่านั้น ซึ่งใช้ทำกล่องโฟมใส่อาหาร และ โฟมลอยกระทง เป็นต้น ซึ่งโฟมพลาสติกประเภท Polystyrene / PS มี 2 ประเภทหลักคือ
1. Expandable Polystyrene / EPS ซึ่งใช้บรรจุสินค้ามีค่าต่างๆ เช่น โทรศัพท์ ตู้เย็น เครื่องใช้ไฟฟ้า และ หมวกกันน็อค โฟมกล่องน้ำแข็ง รวมถึงโฟมแผ่นและโฟมก้อนที่ใช้ทำถนนเป็นต้น 2. Polystyrene Paper / PSP ที่ใช้ทำถาดหรือกล่องโฟมบรรจุอาหาร
กระบวนการผลิตโฟมเป็นอย่างไร 1. Expandable Polystyrene / EPS คือโฟม PS ที่ใช้ก๊าซ Pentane (C5H12) ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับ ก๊าซหุงต้ม หรือ Butane (C4H10) เป็นสารที่ทำให้ขยายตัว (Blowing Agent) ในระหว่าง
กระบวนการผลิตที่เรียกว่า Polymerization เนื้อพลาสติก PS จะทำปฎิกิริยา กักเก็บก๊าซ Pentane เอาไว้ภายใน เมื่อนำมาผลิตโฟม EPS วัตถุดิบจะขยายตัวเมื่อได้ความร้อนจากไอน้ำ (Steam) กลายเป็นเม็ดโฟมขาวๆ จากนั้นจึงนำไปขึ้นรูป (Molding) ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ - อัดขึ้นรูปเป็นรูปร่างต่างๆ ตามลักษณะแม่พิมพ์ที่ทำ (Shape Molding) เช่น เป็นกล่องน้ำแข็ง และบรรจุภัณฑ์ ต่างๆ - อัดขึ้นรูปเป็นก้อนสี่เหลี่ยม ( Block Molding) แล้วนำมาตัดตามขนาดและรูปร่างที่ต้องการ โดยทั่วไป โฟม EPS จะขยายตัวประมาณ 50เท่า และเมื่อขยายตัวแล้วจะมีอากาศเข้ามาแทนที่ถึง 98 % ของปริมาตร มีเพียง 2 % เท่านั้นที่เป็นเนื้อพลาสติก PS และนี่คือสาเหตุที่ทำให้โฟมมีขนาดใหญ่แต่กลับมีน้ำหนักเบา
คุณลักษณะนี้เองที่ทำให้โฟม EPS สามารถรองรับแรงกระแทกได้อย่างดี เหมาะสำหรับใช้ในการบรรจุสินค้า และยังรองรับการถ่ายเทน้ำหนักในแนวดิ่งโดยไม่เสียรูปทรง จึงสามารถใช้เป็นวัสดุในการทำถนน เพื่อแก้ปัญหาถนนทรุด และยังใช้เป็นฉนวนรักษาความร้อนและเย็น เนื่องจากอากาศที่มีอยู่ภายในถึง 98 % ทำหน้าที่เป็นฉนวนได้อย่างดี
2. Polystyrene Paper / PSP คือโฟม PS ที่ใช้ก๊าซหุงต้มหรือ Butane (C4H10) เป็นสารที่ทำให้ขยายตัว วัตถุดิบที่ใช้ ก็คือเม็ดพลาสติก PS ทั่วไป ซึ่งเข้าสู่ระบบการฉีดโดยใช้สกรูซึ่งมีความร้อนจากไฟฟ้าเช่นเดียวกับ การฉีดพลาสติกทั่วไป
(Screw Extrusion) เมื่อเม็ดพลาสติก PS ผ่านสกรูความร้อนก็จะหลอมตัว ขณะที่จะออกจากปลายสกรูก็จะถูกฉีดก๊าซ Butane (C4H10) ซึ่งก็คือแก๊สหุงต้มที่ใช้ตามครัวเรือนผสมเข้าไปทำปฎิกิริยาให้พลาสติกที่กำลังหลอมนั้นเกิดการขยายตัวประมาณ 20 เท่า ฉีดออกเป็นแผ่นแล้วม้วนเข้าคล้ายม้วนกระดาษ (จึงเรียกว่า Polystyrene Paper / PSP) จากนั้นก็จะนำม้วนโฟม PSP ที่ได้ ไปขึ้นรูปด้วยความร้อนตามลักษณะแม่พิมพ์ (Thermal Forming) เช่นเป็นกล่องใส่อาหารหรือถาดเป็นต้น
ทำไมโฟม EPS ถึงไม่ใช้สาร CFCs สำหรับโฟม EPS นั้นเนื่องจากสาร CFCs มีจุดระเหยต่ำจึงยากต่อการกักเก็บไว้ในเม็ดวัตถุดิบ โฟม EPS จึงไม่เคย ใช้สาร CFCs เลย ตั้งแต่บริษัท BASF ของเยอรมันคิดค้นโฟม EPS ขึ้นมาเมื่อราวปี ค.ศ. 1950 สำหรับโฟม PSP นั้น การใช้ สาร CFCs ซึ่งมีราคาแพงกว่าก๊าซหุงต้มทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงกว่า ผู้ผลิตจึงหลีกเลี่ยงไม่ใช้
โฟมนำมารีไซเคิลได้อย่างไร เนื่องจากโฟมทั้งสองประเภทคือพลาสติก PS ที่ขยายตัว จึงนำมาถูกรีไซเคิลได้โดยการบดให้มีขนาดเล็กแล้วนำกลับเข้ามาสู่กระบวนการหลอม โดยผ่านสกรูความร้อน (Screw Extrusion) หรือบด
อัดด้วยใบมีดระบบ Agglomeration เพื่อให้กลายสภาพเป็นพลาสติก PS ซึ่งสามารถนำมาผลิตเป็นสินค้าพลาสติกทั่วไป เช่น ตลับเทปเพลง ม้วนวีดีโอไม้บรรทัด เป็นต้น นอกจากนั้นโฟม EPS ยังสามารถนำมาบดให้มีขนาดใกล้เคียงกับเม็ดโฟมใหม่แล้วนำกลับไปใช้ผสมกับเม็ดโฟมในกระบวนการผลิตซ้ำได้อีก
โฟม EPS ที่ใช้แล้วเอาไปทำอะไรได้บ้าง นอกจากนำกลับไปผ่านกระบวนการรีไซเคิลแล้ว โฟม EPS ที่ใช้แล้วยังสามารถจัดการได้ดังต่อไปนี้ 1. ผสมดินเพื่อใช้ในการเพาะปลูก เนื่องจากโฟม EPS ที่บดแล้วจะช่วยให้ดินร่วนทรุย และอากาศที่อยู่ภายในจะเป็น ประโยชน์ต่อรากของพืช 2. ผสมคอนกรีตเพื่อใช้ในการก่อสร้าง เนื่องจากโฟม EPS มีคุณสมบัติเป็นฉนวนและมีน้ำหนักเบา การใช้โฟม EPS ที่บด แล้วผสมในคอนกรีต จะทำให้ลดน้ำหนักวัสดุนั้น และยังรักษาอุณหภูมิของสถานที่ก่อสร้างได้อย่างดี 3. เผาเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง เนื่องจากโฟม EPS มีอากาศภายในเป็นส่วนใหญ่หากถูกเผาโดยใช้ความร้อนสูงถึง ประมาณ 1,000 องศาเซลเซียส จะทำให้การเผาโฟมที่บดแล้วนั้นเป็นไปโดยปราศจากสารที่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมโดยไม่ต้องใช้ เชื้อเพลิงใดใด โดยโฟม EPS ที่เผา ด้วยกระบวนการดังกล่าว 1 ก.ก. สามารถให้พลังงานเท่ากับน้ำมัน 1.4 ลิตร
สภาพการณ์การรีไซเคิลโฟม PS ภายในอุตสาหกรรม การรีไซเคิลโฟม PS ในเมืองไทยมีสภาพการณ์เช่นเดียวกับการรีไซเคิลพลาสติกทั่วไป บรรดาผู้ผลิตโฟมทั้ง EPS และ PSP ต่างก็มีศักยภาพในการรีไซเคิลโดยการนำกลับมาใช้ในกระบวนการผลิตในระดับหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดต้นทุนวัตถุดิบ และจัดการของเสียจากการผลิต โดยอัตราของเสียในการผลิตโฟม EPS โดยเฉลี่ยไม่เกิน 5 % คิดเป็นปริมาณของเสียในแต่ละเดือนมีประมาณ 125 ตัน ส่วนอัตราของเสียในการผลิตโฟม PSP โดยเฉลี่ยไม่เกิน 20 % (ทั้งนี้เนื่องจากกรรมวิธีในการผลิต แตกต่างกัน จึงทำให้อัตราของเสียจากการผลิตไม่เท่ากัน) คิดเป็นปริมาณของเสียในแตละเดือนประมาณ 300 ตัน นอกจาก การรีไซเคิลโดยผู้ผลิตโฟมเองแล้วยังมีผู้รับซื้อของเสียจากโรงงานผลิตโฟมเพื่อนำไปรีไซเคิลเป็นพลาสติก PS เกรดต่ำอีกด้วย
ในอดีตที่ผ่านมาการรีไซเคิลโฟม PS ที่จัดเก็บจากสาธารณะนั้น ยังมีไม่มากท่าที่ควรเนื่องจากประชาชนทั่วไปยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโฟม PS อันเป็นเหตุให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดี โดยเฉพาะประเด็นการรีไซเคิลโฟมซึ่งหลายๆ คนยังเข้าใจว่าโฟมยังรีไซเคิลไม่ได้ ซึ่งไม่เป็นความจริง นอกจากนั้นกระบวนการจัดเก็บโฟม EPS ซึ่งมักจะมีขนาดใหญ่แต่มีน้ำหนักเบา ทำให้ต้นทุนของการขนส่งค่อนข้างจะสูงกว่าพลาสติกประเภทอื่น
อุตสาหกรรมโฟม PS ในมืองไทย อุตสาหกรรมโฟม PS ในเมืองไทยเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 40 ปีมาแล้ว โดยเริ่มจากการผลิตโฟม EPS ประเภทก้อนสี่เหลี่ยม (Block Molding) เพื่อใช้ทำผนังห้องเย็น (Cold Storage Panel) ต่อมาเมื่ออุตสาหกรรมในประเทศเริ่มเติบโตขึ้น การใช้โฟม EPS เพื่อบรรจุสินค้า โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิคส์เพื่อการส่งออกจึงเริ่มขึ้นในราวปี พ.ศ. 2520 ต่อมาได้มีการใช้โฟม EPS ในการก่อสร้างอาคาร คอสะพาน และถนนอีกด้วย ปัจจุบัน มีผู้ผลิตวัตถุดิบ EPS ในประเทศ 5 ราย และผู้ผลิตโฟม EPS ประมาณ 25 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งมีกำลังการผลิตโดยรวมประมาณ 2,800-3,000 ตันต่อเดือน
โฟม EPS ที่ผลิตส่วนใหญ่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็คทรอนิคส์เพื่อการส่งออกเป็นหลัก นอกจากนั้นกล่องโฟมที่ผลิตจากโฟม EPS ยังใช้สำหรับบรรจุอาหารทะเลแช่แข็งเพื่อส่งออกเช่นกัน สำหรับโฟม PSP นั้น เริ่มมีขึ้นเมื่อประมาณ 15 ปีที่ผ่านมา มีผู้ผลิตวัตถุดิบ (เม็ดพลาสติก PS) ในประเทศ 5 ราย และ ผู้ผลิตโฟม PSP 10 ราย ซึ่งมีเพียงรายเดียวที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ กำลังการผลิตโดยรวมในปัจจุบันประมาณ 1,300-1,500 ตัน ต่อเดือน โฟม PSP จะผลิตเป็นถาดหรือกล่องสำหรับใส่อาหารเป็นหลัก ซึ่งมีสัดส่วนในการส่งออกประมาณ 30%
วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2550
วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2550
ความคาดหวังอะไรจากวิชานี้
ตอนที่ได้เรียนวิชานี้กับอาจารย์ครั้งแรก ก็เริ่มรู้ว่าเราต้องคิดอะไรให้มากกว่านี้
สังเกตุสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวมากขึ้น
ความคาดหวังอะไรจากวิชานี้
ตอนแรกที่ยังไม่ได้เรียนก็คิดว่าเราคงจะได้เรื่องของแนวความคิดที่ดียิ่งขึ้นเพราะที่ผ่านมาเราอาจจะคิดงานน้อยไป และจากที่อาจารย์หลายๆท่านแนะนำ โดยส่วนตัวเป็นที่เวลาอธิบายงานแล้วไม่สามารถบอกได้ทั้งหมดตามที่เราคิดเหมือนแบบว่าเรา " พูดไม่ค่อยจะรู้เรื่อง "คงจะเป็นเพราะเราเรียบเรียงคำพูดได้ไม่ดีเท่าที่เราคิดมา และคิดว่าวิชานี้จะทำให้เราสามารถเรียบเรียงกระบวนการ คิด พูดให้ได้ดียิ่งขึ้น
อยากรู้วิธีคิดในแง่มุมต่างๆ เพราะเวลาส่งงาน บางทีอาจารย์ก็ถามบางอย่างที่เราตอบไม่ได้ นั้นคงเป็นพราะเราคิดไม่รอบด้าน
อยากรู้เวลาที่เราดูงานรอบ ๆ ตัวของว่าบางทีทำไมงานนี้ถึงต้องออกมาในลักษณะนี้ เพราะอะไร เพื่ออะไร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)